Home > News & Update
News & Update
15.01.2020
ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศ : ชุมชนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ
The symbiosis of architecture and environment through the process of ecology reclamation

TCAS สถาปัตยกรรม เกษตรศาสตร์ ออกแบบ รางวัล สถาปนิก นิเวศน์ ยั่งยืน archdaily degree show

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ชุมชนคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการได้ประสบกับปัญหาอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนแรงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของชาวประมงพื้นบ้าน รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง จึงได้เกิดคำถามว่า “เราจะมีวิธีอื่นใดหรือไม่ที่จะลดความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตนี้ และสถาปัตยกรรมจะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของคน สัตว์ และป่าให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้งได้อย่างไร”เป้าหมายในการออกแบบโครงการนี้มี 3 ประเด็นหลักด้วยกัน ได้แก่ 1) ออกแบบโครงสร้างที่ช่วยลดแรงปะทะและดูดซับแรงคลื่นจากทะเล เพื่อลดอัตราการกัดเซาะของชายฝั่ง 2) ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ป่าชายเลน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ในระยะยาว และ 3) ส่งเสริมการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านให้ยั่งยืนและสร้างพื้นที่การมีปฏิสัมพันธ์กันของชุมชนชาวประมงคลองด่าน จากเป้าหมายนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงได้เสนอแนวคิด “สถาปัตยกรรมเกื้อกูล” (Symbiosis Architecture) ขึ้น โดยสถาปัตยกรรมจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบธรรมชาติดำเนินไปได้ด้วยตัวเอง และมีบทบาทเป็นเพียงตัวช่วยในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบโครงข่ายขนาดใหญ่ทั้งพื้นที่ชายทะเล พื้นที่รอยต่อชายฝั่งทะเล และพื้นที่นากุ้งร้าง (ชายฝั่งด้านใน)
 
TCAS สถาปัตยกรรม เกษตรศาสตร์ ออกแบบ รางวัล สถาปนิก นิเวศน์ ยั่งยืน archdaily degree show

ผลงานออกแบบประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำรูปสามเหลี่ยม ที่ผนวกกับที่พักชั่วคราวของชาวประมงและอวนโป๊ะจับปลา ถูกออกแบบให้ต่อกันเป็นแนวยาวในบริเวณชายทะเล เพื่อชะลอแรงคลื่นที่ปะทะเข้าสู่เขตชายฝั่ง ส่วนที่ 2) แนวปักไม้ไผ่บริเวณรอยต่อชายฝั่ง ทำหน้าที่ดูดซับแรงคลื่นและดักตะกอนเลนสำหรับการปลูกกล้าไม้ชายเลน ในบริเวณนี้ยังมีการสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติชายฝั่งทะเล และอาคารธนาคารปูแสมเพื่อการอนุรักษ์ และ ส่วนที่ 3) ปฏิบัติการทลายคันนากุ้งทีละชั้นพร้อมๆกับการปลูกป่าชายเลนทดแทน พัฒนาร่วมกับการก่อสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน อาคารธนาคารหอยลายเพื่อการอนุรักษ์ และหอดูนก
 
TCAS สถาปัตยกรรม เกษตรศาสตร์ ออกแบบ รางวัล สถาปนิก นิเวศน์ ยั่งยืน archdaily degree show

ZONE 1
หน้าที่ของการจัดการพื้นที่เขตน่านน้ำสมุทรปราการ มีทั้งหมด 3 อันดับ

1. การชะลอแรงคลื่นด้วยโครงสร้าง Floating break water
2. การผนวกกิจกรรมทางการประมงของชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ด้วยกระชังเลี้ยงปลาน้ำลึก
3. การผนวกกิจกรรมทางการประมงของชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ด้วยโครงสร้างอวนโป๊ะ  

โดยทั้งสามการใช้งานที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตน่านน้ำสมุทรปราการนั้น จะเป็นการจัดการการออกแบบด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมผ่านการออกแบบด้วยแนวคิดทางสถาปัตยกรรมเพื่อรองรับการใช้งานของมนุษย์ โดยการออกแบบโครงสร้างและการใช้งานของเขตน่านน้ำสมุทรปราการในบทนี้นั้น จะอ้างอิงจากแบบพัฒนาในบทที่ 6 เป็นขั้นตอนสุดท้าย เนื่องจากได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมชลศาสตร์แล้วว่าเป็นแบบที่มีคุณสมบัติที่สามารถใช้งานในการชะลอแรงคลื่นได้จริงตามแนวทางวิศวกรรมชลศาสตร์ ทั้งแรงคลื่นใต้น้ำและแรงคลื่นผิวน้ำ ทั้งนี้ ได้มีการออกแบบการผสานโครงสร้าง Floating break water ร่วมกับโครงสร้าง อวนโป๊ะ
 
TCAS สถาปัตยกรรม เกษตรศาสตร์ ออกแบบ รางวัล สถาปนิก นิเวศน์ ยั่งยืน archdaily degree show

ZONE 2
ในเขตรอยต่อชายฝั่งนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของกลุ่มชมชนประมงพื้นบ้านผ่านการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ไปพร้อมกับการพัฒนาพื้นที่ การดักตะกอนเลนและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทั้ง สัตว์หน้าดินและพืชป่าชายเลน โดยที่หน้าที่หลักของพื้นที่ในเขตรอบต่อชายฝั่งที่จะทำการพัฒนานั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. การปลูกป่าเพิ่มเติมจากพื้นที่ป่าเดิม  ( Afforestation )  โดยวิธีการใช้แนวไม้ไผ่ ปักเป็นแนวสามเหลี่ยม ในการดูดซับแรงคลื่นและดักตะกอน
2. ธนาคารหอยลาย เพื่อการเพาะพันธ์ตัวอ่อนหอยลาย เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่เพื่อการอนุรักษ์เป็นหลัก รวมถึงการออกแบบร่วมกับการวางแนวไม้ไผ่ดักตะกอน ที่จะต้องถูกคำนึงร่วมกันในการวางผังอาคารพร้อมกับการพัฒนาของพื้นที่  
3.โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการสร้างให้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนภายนอกในการเข้ามาศึกษาพื้นที่ ทั้งในขั้นตอนการดักตะกอน การเลี้ยงหอยลายผ่านธนาคารตัวอ่อน และการปลูกป่าชายเลน 

TCAS สถาปัตยกรรม เกษตรศาสตร์ ออกแบบ รางวัล สถาปนิก นิเวศน์ ยั่งยืน archdaily degree show

ZONE 3
การพัฒนาพื้นที่ในเขตนากุ้งร้างนั้น เน้นไปที่การปลูกป่าชายเลนจากพื้นที่นากุ้งร้างผ่านการทลายคันนากุ้งทีละชั้นเพื่อให้น้ำทะเลสามารถไหลผ่านพื้นที่เพื่อให้หน้าดินนั้นสามารถปรับสภาพได้ ก่อนที่จะนำต้นกล้าแสมไปปลูกในพื้นที่ตามลำดับ การพัฒนาพื้นที่นั้นจะทำควบคู่กับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนปูแสมในพื้นที่นากุ้งร้างและโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเช่นเดียวกับพื้นที่เขตรอยต่อชายฝั่ง โดยหน้าที่ของการพัฒนาพื้นที่นากุ้งร้างจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. การปลูกป่าชายเล่นจากพื้นที่ที่เลยเป็นป่าในอดีต ( Reforestation ) โดยการทะลายคันนากุ้ง
2. ธนาคารปูแสม เพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงอนุรักษ์เป็นหลัก
3. โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  
 
วิทยานิพนธ์นี้เป็นตัวอย่างของการคิดค้นแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ป่าชายเลนผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมอย่างเป็นพลวัตและองค์รวม กระบวนการศึกษาและออกแบบชี้ให้เห็นว่าหัวใจของการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติในระยะยาวนั้นอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสมดุล สถาปนิกไม่ควรหลงลืมว่าสถาปัตยกรรมมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเกื้อกูลสภาพแวดล้อม ซึ่งในที่นี้คือ คน สัตว์ และป่า นั่นเอง