Home > News & Update
News & Update
06.10.2020
สถานีดับเพลิงต้นแบบใหม่กรุงเทพมหานคร New Bangkok Fire Station Prototype



รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประเภทความคิดสร้างสรรค์ / การทดลอง (Thesis of the year award 2020)
สถานีดับเพลิงต้นแบบใหม่กรุงเทพมหานคร New Bangkok Fire Station Prototype
ผู้ออกแบบ: นาย กิตติกุล นนทแก้ว 
 


โครงการวิทยานิพนธ์มุ่งที่จะสร้างข้อโต้แย้งและมองในภาพลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมการทำงานเกี่ยวกับเมืองไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับหน่วยงานดับเพลิงแต่เป็นจุดที่สามารถเข้าถึงบริการชุมชน โดยมีการตั้งสมมุติฐานบนพื้นฐานความคิดว่าด้วยเรื่องสถานีดับเพลิงนั้นสามารถปรับเปลี่ยนเป็นหลายขนาด และสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่แตกต่างกันซึ่งสถาปัตยกรรมนี้ยังสามารถคงอยู่ซึ่งลักษณะเฉพาะที่ผู้ใช้งาน รับรู้ถึงความเป็นอาคารสาธารณะสำหรับเมือง โดยโครงการได้ทำการทำลองนำสถานีดับเพลิงต้นแบบไปปรับใช้ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งมีความซับซ้อนในแง่ของผังเมือง



ทั้งนี้ด้วยการวิเคราะห์ทางด้านสัณฐานวิทยาประกอบทำให้แบ่งขนาดของสถานีดับ เพลิงออกเป็น 4 ขนาดคือ XS, S, M, L ตอบรับกับความต้องการพื้นฐานของสถานีดับเพลิงอัน ได้แก่ เวลา สิ่งอำนวยความสะดวก และการกระจายตัวของนักดับเพลิง บวกกับความแตกต่างของการทำงานตามความ เปลี่ยนแปลงของบริบททั้งนี้ทั้งสี่ขนาดสามารถทำงานร่วมกันเป็นโครงข่ายได้อีกทั้งยังเอื้อให้ทำงานร่วมกับมูลนิธิกู้ภัยในกรุงเทพมหานครได้ ซึ่งทั้งสี่ขนาดนี้เสริมสร้างให้เกิดองค์ประกอบหลักร่วมกันของทุกสถานีก็คือ “หอคอย” ที่เปลี่ยนการทำงานทั้งในแง่การสัญจรแนวตั้ง, โครงสร้าง, การสื่อความหมายผ่านลักษณะทางสถาปัตยกรรม โดยหอคอยนี้สามารถทำให้เกิดการทำงานแบบจัดกลุ่มเชิงพื้นที่ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ เพื่อที่จะแก้ไขให้เหมาะสมกับรูปแบบบริบทนั้น ๆ ซึ่งท้ายที่สุดในการทำงานให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดสถานีดับเพลิงนั้นต้องสามารถปรับตัวได้ในทุกขนาดและมีการทำงานและปฏิสัมพันธ์กับบริบทมากกว่าที่จะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมในงานกู้ภัยที่แยกตัวออกไป แต่ต้องสามารถทำหน้าที่เป็นจุดการทำงานให้กับสำคัญและก่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับสาธารณะ
 

เริ่มศึกษาจากมุมมองมหภาพก่อนที่จะเจาะลึกลงรายละเอียดวิเคราะห์ตั้งแต่จุดกำเนิดของประเภทอาคารสถานีดับเพลิงจนถึงปัจจุบันเพื่อค้นคว้าแก่นในการใช้งานและแนวทางพัฒนาตั้งแต่อดีตมีความเป็นมาอย่างไร อีกทั้งศึกษาจากระบบผังเมืองระบบตารางกริดกับการเข้าถึงเพื่อหารัศมีที่ตั้งที่จะปลอดภัยสู่พื้นที่โดยรอบทั้งนี้เมื่อนำมาปรับใช้กับผังเมืองไทยแล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรงเนื่องจากผังเมืองมีลักษณะ organic รวมถึง อาคารดับเพลิงดั้งเดิมของไทยนั้นเป็นการปรับปรุงมาจากสถานีตำรวจทำให้ทั้งระบบผังเมืองและงานสถาปัตยกรรมไม่สอดคล้องกับการใช้งานที่แท้จริง


การวิเเคราะห์ถึงระบบผังเมืองของไทยว่าด้วยเรื่องการกระจายตัวโดยอ้างอิงจาก Dead end analysis พบว่าผังเมืองกรุงเทพมหานครนั้นไม่เหมาะสมที่จะมีสถานีที่ใหญ่ในหนึ่งย่านควรจะเป็นสถานีที่มีหลากหลายขนาดเพื่อรองรับกับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาซึ่งไม่ควรเกินระยะเวลา 15 นาทีหลังแจ้งเหตุซึ่งเมื่อศึกษาต่อพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นมีจุดที่สามารถเชื่อมกันได้อย่างดีซ่อนอยู่ในผังเมืองแต่เป็นขนาดสัดส่วนระดับมนุษย์หรือรถจักรยานยนต์จึงนำมาสู่พื้นที่ในการทดลองงานวิทยานิพนธ์คือเกาะรัตนโกสินทร์ที่ทีความซับซ้อนของระบบผังเมืองทั้งระดับรถยนต์และขนาดมนุษย์ทั้งนี้ในคอนเซปแรกของการออกแบบมาจากการนำภาพจำของอาคารดับเพลิงก็คือหอคอยดูเพลิงซึ่งปัจจุบันไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วเนื่องจากการเข้ามาของเทคโนโลยีซึ่งหากใช้รูปทรงนี้จะสามารถอยู่ในพื้นที่ที่มีความแคบได้อีกทั้งทำให้คนตระหนักถึงพื้นที่ด้วยภาษาทางออกแบบทำให้การสัญจรเดินรถดับเพลิงไม่มีรถประชาชนกีดขวาง
 

การทอนสัดส่วนจากคอนเซปที่ได้ให้ใกล้เคียงกับสัดส่วนอาคารในเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อให้เกิดความกลมกลืนและความง่ายของระบบการก่อสร้างให้สะดวกมากขึ้นและกำหนดให้ในหน่วยที่เล็กที่สุดนั้นสามารถทำงานในระบบสถานีดับเพลิงในหน่วยที่เล็กที่สุดได้โดยเน้นเป็นการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงแต่ดำเนินโดยดับเพลิงอาสาที่มีความเชี่ยวชาญเส้นทางมากกว่าหากนำอาคารต้นแบบเล็กสุดนี้กระจายไปจุดเล็กๆที่ต้องการการเข้าถึงของหน่วยงานดับเพลิงทั้งนี้ยังไม่ลืมจุดที่เป็นจุดสำคัญดั้งเดิมของสถานีดับเพลิงนั่นคือติดถนนใหญ่หรือมุมถนนที่สามารถกระจายรถไปสู่ซอยเล็กได้รวดเร็วเพื่อการแก้ปัญหาในทุกระดับของการเข้าถึงเหตุเพลิงไหม้และเป็นการมอบพื้นที่สาธารณะให้กับเมืองโดยมีการดูแลโดยหน่วยงานดับเพลิง ในการขยายนั้นเบื้องต้นจะมีสามขนาดคือ S M Lที่เหมาะสมสำหรับเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและสามารถนำไปติดตั้งที่พื้นที่ลักษณะเดิมในการสร้างสถานีได้ทั้งนี้ในการขยายต่อ 1 หน่วยจะมี Factor ที่ต้องไปคู่กันเช่น ในการที่มีรถเติมน้ำดับเพลิงจำเป็นต้องมีพนักงานสี่คนหมายความว่าต้องมีห้องพักเพิ่มและที่จอดเพิ่มและถ้ามีจำนวนมากกว่าสี่คันอาคารต้องมีห้องเก็บชุดดับเพลิงและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น อีกทั้งคิดในแง่การขนส่งจากข้างต้นที่กล่าวว่าสามารถกระจายอาคารต้นแบบนี้ไปในพื้นที่ขนาดแคบได้ซึ่งในบางพื้นที่นั้นมีถนนที่แคบมากๆในส่วนของแก่นอาคารสามารถแยกส่วนและไปประกอบในพื้นที่ได้หรือจะประกอบเกือบเสร็จสมบูรณ์ก็ได้ในพื้นที่ถนนที่มีความกว้างและสะดวกต่อการขนส่ง


สุดท้ายคือการทดลองลดพื้นที่ตัวอย่างจริงโดยขนาดเล็กที่เป็นตัวอย่างแรกคือเขตแพร่งนราซึ่งได้เคยมีเหตุเพลิงไหม้ทำให้อาคารเสียหายเหลือเพียงด้านหน้าฟาสาดอาคารที่เหลือรอการบูรณะจึงเกิดเป็นแนวคิดที่อาคารทดลองสามารถเข้าไปอยู่ด้านหลังและมีการยื่นโครงสร้างและทำการค้ำยันให้กับผนังด้านหน้าทำให้เกิดทั้งการใช้งานรูปแบบใหม่และเป็นการเคารพบริบทเดิมในเวลาเดียวกัน ส่วนอาคารขนาดกลางได้ทดลองนำไปติดตั้งใต้สะพานพระรามแปดซึ่งในใต้สะพานใหญ่นั้นมักเป็นจุดจอดรถกู้ภัยอาสาอยู่แล้วจึงเป็นแนวคิดที่จะมีสถานีนี้และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายและทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กู้ภัยและกู้ภัยอาสาเพื่อความต่อเนื่องในการส่งต่องาน