Home > Design & Research
Design & Research
02.10.2020
ต้นแบบหน่วยล้างไตเคลื่อนที่สำหรับผู้ป่วยโรคไตในชนบท กรณีศึกษาลำสนธิโมเดล จังหวัดลพบุรี
เมื่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาลนั้นเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ป่วยติดเตียง/ผู้มีรายได้น้อยในชนบทที่ห่างไกล การออกแบบที่ตอบสนองกับปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ป่วยในชุมชนจึงเกิดขึ้น ด้วยผลงานต้นแบบหน่วยล้างไตเคลื่อนที่สําหรับผู้ป่วยโรคไตในชนบท: กรณีศึกษาลําสนธิโมเดล จังหวัดลพบุรี

วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม 7(1). หน้า 65-78.

โดย กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์
สรนาถ สินอุไรพันธ์
สายทิวา รามสูต
สุปรียา หวังพัชรพล
ขวัญชัย กาแก้ว

อ่านเพิ่มเติมที่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jars/article/view/225328


 
บทคัดย่อ
ไตเรื้อรังนับเป็นปัญหาสุขภาพหลักของประเทศไทย ดังเห็นได้จากสถิติผู้ป่วยต่อปีที่เพิ่มจําานวนขึ้นในทุกภูมิภาค จากการศึกษาพบว่าความยากจนและความลําาบากในการเข้าถึงโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่ทําาให้ผู้ป่วยโรคไตด้อยโอกาสในชนบทไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมได้ ผู้ป่วยจําานวนหนึ่งต้องเดินทางไปยังศูนย์ล้างไตที่ใกล้ที่สุดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองครั้ง ซึ่งมักไม่สามารถดูแลค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ อีกทั้งสภาพและรูปแบบของเรือนชนบทของผู้ป่วยอาจขาดสุขลักษณะตามมาตรฐานในการล้างไตด้วยตนเองที่บ้าน โรงพยาบาลลําาสนธิ จังหวัดลพบุรี จึงได้เกิดแนวคิดของการสร้างหน่วยล้างไตเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ลําาสนธิโมเดล” เพื่อเสนอการบริการสุขภาพทางเลือกที่รองรับสภาพข้อจํากัดเฉพาะในพื้นที่ชุมชนชนบท ต้นแบบหน่วยล้างไตถูกค้นคว้าและพัฒนาการออกแบบโดยกลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้ป่วย แพทย์และบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลลําาสนธิ เพื่อสร้างผลการออกแบบที่ตอบสนองเงื่อนไขต่างๆอย่างบูรณาการ แนวคิดการออกแบบหน่วยล้างไตมุ่งเน้นทางเลือกที่ราคาประหยัดและสามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยเสนอรูปแบบที่สามารถพับได้เพื่อสะดวกต่อการขนส่งสามารถติดตั้งที่บ้านหรือพื้นที่บริการผู้ป่วย และเคลื่อนย้ายส่งต่อไปบริการผู้ป่วยคนต่อไปในภายหลังได้ หน่วยล้างไตสามารถรองรับการเข้าถึงด้วยรถเข็นและติดตั้งระบบสุขาภิบาลและระบบไฟฟ้าที่พร้อมจะเชื่อมต่อกับพื้นที่ติดตั้ง หน่วยล้างไตสามารถรองรับกระบวนการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองและแก้ปัญหาข้อจําากัดของบ้านผู้ป่วยให้มีลักษณะเหมาะสมต่อการรักษา แม้ต้นแบบยังต้องการการพัฒนาต่อโดยเฉพาะน้ําาหนักของวัสดุและสภาวะน่าสบายของสภาพแวดล้อมภายใน แต่การคิดค้นและพัฒนาการออกแบบหน่วยล้างไตนับว่าเป็นการแสดงการบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการบริการสุขภาพและสร้างการตระหนักถึงความสําคัญของความร่วมมือกันระหว่างการแพทย์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง และเป็นตัวอย่างของทางเลือกการบริการสุขภาพชุมชนที่อาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยระบบบริการทั่วไปเพียงอย่างเดียว