Home > Programs > Graduate programs
Graduate programs

Ph.D. (Built Environment) | Doctor of Philosophy

Ph.D. (Built Environment)
Year Program: 3

หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก ผู้ซึ่งมีความรู้ในเชิงลึก และความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยในด้านการพัฒนาทางกายภาพของสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์และความสมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติกับเมือง ชุมชนทั้งที่เป็นชุมชนเมืองและชุมชนชนบท สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีอาคาร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยจิตสำนึกที่มุ่งมั่นและความพร้อมในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านการพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสมและยั่งยืน  
Overview
Doctoral program in built environment at Kasetsart Architecture Department is one of the most eminent graduate curricular of its kind in Thailand, establishing high-level, human-environment education and research since 2008.  The program’s objective aims to foster Ph.D. graduates for constructing original and critical knowledge of high-level, built-environment studies on human environments and sustainability, in a broad range of scales, upon integrated knowledge platforms through academic research-oriented environment.  It focuses on nurturing new potential researchers for future challenges in local and global circumstances as well as historical, socio-cultural, and theoretical acknowledgement.  

This doctoral program expects to seek prospective applicants who have an attempt to enhance specialized research in built environment.  Prospective applicants who hold degrees and research background experience of architecture, arts, landscape, urban planning, engineering, social science, and related fields are cordially encouraged for an application.  Ph.D. in Built Environment creates opportunities for graduates who intend to pursue future careers for a university faculty and academic researchers in built environment in high-level, educational institutes as well as think tanks in government and private organizations.  

This three-year curriculum of the doctoral program in built environment offers two study options.
- The first option consists of 48-credit committed research and seminars, appropriate for experienced researchers who develop rigorously critical research topics.  
- The second option for research novices takes up one year of the 12-credit core courses: Built Environment Development, Advanced Research Methods, Academic Writing, and seminars, and 36-credit committed research approved by a given board of committees.  
Moreover, all doctoral students are expected to pass all three examinations: a qualifying exam, a proposal exam, and a final defense of research.

Prospective applicants please feel comfortable to contact Kasetsart graduate faculties of Department of Architecture for research interests, or alternatively please contact
คุณมโนรมย์ ตุ้นสกุล Tel: 02942-8960-3
อ.ดร. คัทลียา จิรประเสริฐกุล DR. CUTTALEEYA JIRAPRASERTKUN at email: archcyn@ku.ac.th

 
Regular Admission Requirement
Type 1.1 - Only those who fulfilled the dissertation requirements in his/her master programs will be allowed to assume the Special Features option. However, they must have academic background in Architecture, Interior Decoration, Landscape Architecture, Urban Design, Urban Planning, Building Innovation, Vernacular Architecture, Thai Architecture, Architectural History, Industrial Design, Engineering, or Environmental Science.
Type 2.1 - For those holding a master degree, with or without dissertation requirements, and with the same academic backgrounds as mentioned for Type 1.1. Note: All Program activities are conducted in Thai language, except for a few and occasional lectures by guests from abroad that will be presented in English.
Cotutelle/Joint Doctoral Supervision Program
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง โดยความร่วมมือทางวิชาการกับ Department of Geography and Planning และ Department of Sociologyใน Faculty of Arts, Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการวิจัยของประเทศออสเตรเลีย มีความมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก ผ่านการดำเนินงานในลักษณะการเชื่อมโยงการเรียนการสอน หรือ Joint program ระหว่างสถาบัน  โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ให้แก่นิสิตไทยและนักศึกษาออสเตรเลียที่เข้าร่วมโครงการ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และนำไปสู่การสร้างผลงานวิจัยในระดับสากล โดยผู้เข้าศึกษาภายใต้ทุนนี้จะต้องทำการศึกษาทั้งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Macquarie Universityประเทศออสเตรเลีย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี และจะได้รับอนุมัติปริญญาจากทั้ง 2 สถาบัน โดยมีทุนสนับสนุนการศึกษา โดยเฉพาะจาก Macquarie Universityประเทศออสเตรเลีย อันประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน(Tuition fee) เป็นระยะเวลา 3 ปี ค่าใช้สอยในการอยู่อาศัย (Living cost) ในประเทศออสเตรเลียเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
 
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ในส่วนของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
1) ผู้สมัครในหลักสูตรแบบ 1.1 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ซึ่งทำวิทยานิพนธ์และ/หรือมีประสบการณ์วิจัยอย่างน้อย 3 ปี โดยมีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในหรือมัณฑนศิลป์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง ผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง นวัตกรรมอาคาร สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมไทย ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
2) ผู้สมัครในหลักสูตรแบบ 2.1 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า โดยมีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในหรือมัณฑนศิลป์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมผังเมือง ผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง นวัตกรรมอาคาร สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมไทย ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากําหนด
4) คุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในส่วนของ Doctor of Philosophy, Macquarie University, Australia
1) มีผลการเรียนดีเยี่ยม
2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัย
3) เป็นผู้สมัครจากประเทศใดก็ได้
4) มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษา

ระยะเวลาศึกษา และการลงทะเบียนเรียน
1) ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2)ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ Higher Degree ResearchOffice, Macquarie Universityประเทศออสเตรเลีย
 
ผู้สนใจสมัครเข้ารับทุนการศึกษานี้จะต้องทำการสมัครเข้าทำการศึกษาทั้งที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ Macquarie University (Doctor of Philosophy(Cotutelle and Joint Ph.D.))
Thesis Advisors
Recognizing built environmental concerns, doctoral program at Kasetsart Architecture Department offers a diversity of specialized interests based on faculty expertise: 
-Architectural culture, history and theory 
-Tectonic culture 
-Architectural and urban conservation and cultural heritage
-Cultural landscape
-Built environment for health and well-being 
-Socio-cultural sustainability and place-making
-Vernacular built environment and ecology 
-Eco-urban design and development 
-Housing and urban development 
-Eco-tourism
-Built environment studies
-World Heritage Studies
-Cultural Heritage management and planning
-Spatial statistics

Thesis Advisors:
Prof.Ornsiri Panin
Asst.Prof.Wandee Pinijvarasin, Ph.D.
Asst.Prof.Narongpon Laiprakobsup, Ph.D.
Asst.Prof.Soranart Sinuraibhan, Ph.D.
Asst.Prof.Cuttaleeya Jiraprasertkun, Ph.D.
Asst.Prof.Saithiwa Ramasoot, Ph.D.
Asst.Prof.Supreeya Wungpatcharapon, Ph.D.
Patiphol Yodsurang, Ph.D.
Theses
2563
ธนัชพงศ์ เมธีปิยะวัฒน์. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางสถาปัตยกรรม อาคารประเภทพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง กรณีศึกษาพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน ในรัชกาลที่ 9"
สุรเชษฐ์ เกษมศิริ. "ประสบการณ์ต่อสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองของผู้ใช้จักรยานและการตัดสินใจใช้จักรยานเพื่อประโยชน์ใช้สอย "

2562
กนกวรรณ คชสีห์. "มิติการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อการสร้างสรรค์พื้นที่สุขภาวะ กรณีศึกษาชุมชนดั้งเดิมในเมืองเชียงใหม่"
ทำเนียบ อุฬารกุล. “สวนในองค์กร: ความหมาย บทบาท และการแปรเปลี่ยน”
นเรศ วชิรพันธุ์สกุล. "ภูมินิเวศกับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวิถีเกษตรพึ่งพาตนเองในแอ่งสกลนคร"
จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์. "รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเกิดของเสียจากการก่อสร้าง"

2561
วิลาศ เทพทา. "นิเวศวิทยาทางน้ำในระบบเหมืองฝายของพื้นที่เกษตรกรรมในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร"
ณัฏรี ศรีดารานนท์. "ชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแดด สำหรับหลังคาที่มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ"
คมเขต เพ็ชรรัตน์. "การปรับตัวของชุมชนผลิตหัตถกรรมจักสานในภาคตะวันออก"

2560
วรรณิก พิชญกานต์. "การดำรงอยู่ของสำนึกชุมชนและบทบาทของชุมชนต่อภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ กรณีการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองเก่าเชียงใหม่"
วีรยา เอี่ยมฉ่ำ. "ศักยภาพการเชื่อมโยงของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ในชุมชนชนบทไทย"
ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ. "การดำรงอยู่ของชุมชนสะเทินน้ำสะเทินบกในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา"
จักรสิน น้อยไร่ภูมิ. "รูปแบบกระบวนการพัฒนานวัตกรรมวัสดุอัพไซเคิล สำหรับอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมในประเทศไทย"
บุญชัย ขจายเกียรติกำจร. "ภูมิปัญญาเรือนพื้นถิ่นไทลื้อที่สัมพันธ์กับสิงแวดล้อมการดำรงชีวิต"
ศุภชัย  ชัยจันทร์."ความเป็นสาธารณะบนพื้นที่สาธารณะบนบริบทไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสนามหลวงและลานเซ็นทรัลเวิร์ด"

2559
จิตรมณี ดีอุดมจันทร์. "ความงามของเรือนและชุมชนพื้นถิ่นไทลาว" 
ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ. "ความปลอดภัยและความรู้สึกปลอดภัยจากอาชญากรรมในชุมชนอยู่อาศัยย่านเก่าเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดินและชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน"

2558
ศศิธร คล้ายชม. "การดำรงอยู่ของชุมชนตลาดพื้นถิ่น ในลุ่มน้ำภาคกลาง"
วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. "ความสมดุลของการใช้พื้นที่ภายในโบราณสถานกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาศาสนสถานประจำอโรคยาศาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"

2557
อำนาจ จำรัสจรุงผล. "แนวทางการพัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อเขตอนุรักษ์เมืองเก่าเชียงใหม่ : กรณีศึกษาแนวแกนของเมิอง ถนนท่าแพและริมแม่น้ำปิง"
พรหมปพร นวลแสง. ภูมิทัศน์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพื้นที่ถ้ำใหญ่น้ำหนาวกับการเป็นเครื่องมือจัดการสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ : กรณีถ้ำใหญ่น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
ศรันย์ สมันตรัฐ. "เบลาะ/ปลัง" โรงเรือนพิธีกรรมส่วนรวมของกะเหรี่ยงสะกอร์และกะเหรี่ยงโปว์สำเนียงเหนือ"
พิทาน ทองศาโรจน์. "การศึกษาพารามิเตอร์ในการออกแบบเรือนไทยประเพณีในภาคกลางเพื่อสภาวะน่าสบาย"

2556
สุภาวดี  เชื้อพราหมณ์. "พลวัตวิถีชีวิตพื้นถิ่นของชุมชนและเรือนในลุ่มทะเลสาบสงขลา"

2552
วีระ อินพันทัง. "ความหลากหลายทางวัฒนธรรมการปลูกสร้างเรือนไทยแห่งลุ่มน้ำเพชรบุรี"